Skip to content Skip to footer

Information Resource Development Policy

นโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีภาระหน้าที่ในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง สอดคล้อง และสนับสนุนหลักสูตรการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยด้วยวิธีการจัดซื้อ การขอรับบริจาค โดยมีอาจารย์/นักวิชาการ/นักวิจัย/ผู้เชี่ยวชาญ/นักศึกษา/บุคลากร มีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกหรือเสนอแนะรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ หรือรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า และเป็นประโยชน์เพื่อให้ห้องสมุดจัดหามาไว้ให้บริการ โดยเสนอรายชื่อผ่านทุกช่องทาง ได้แก่ ระบบเสนอซื้อออนไลน์ แบบเสนอรายชื่อหนังสือเพื่อการจัดซื้อ การเสนอรายชื่อทางโทรศัพท์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เฟซบุ๊ก

ด้านการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศจำเป็นต้องมีเกณฑ์ที่ต้องรับรู้ร่วมกันทั้งผู้ให้และผู้รับ ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรที่ได้รับมาสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย ตรงตามหลักสูตร และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ หากสำนักหอสมุดไม่สามารถนำทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวออกให้บริการได้สำนักหอสมุดมีนโยบายส่งต่อทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับบริจาคไปทำประโยชน์อย่างอื่น

วัตถุประสงค์การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

1. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและส่งเสริมการเรียนรู้นอกชั้นเรียน การศึกษาค้นคว้าวิจัยในมหาวิทยาลัยและสามารถตอบสนองความต้องการของอาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
2. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการของคนทุกระดับและรวมองค์ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ  ศิลปวัฒนธรรม เพื่อชุมชนและสังคม
3. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ได้แก่ สิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
5. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศโดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์  นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
6. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับ
ึ7. อนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
8. อนุรักษ์และสงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุและวัตถุพิพิธภัณฑ์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งความรู้ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
9. พัฒนาระบบการจัดเก็บและการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์และการใช้งานในระยะยาว

วิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

 1. การซื้อ
พิจารณาการจัดซื้อตามรายชื่อที่ผู้ใช้ห้องสมุดเสนอซื้อ โดยให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
2. การได้เปล่า
2.1 การขอรับบริจาค จากการสำรวจแหล่งที่มีสิ่งพิมพ์ได้เปล่าจากหน่วยงานต่าง ๆ ของราชการและเอกชน หรือบุคคลทั่วไป
2.2 การได้รับจากหน่วยงานต่าง ๆ ของราชการและเอกชน หรือบุคคลทั่วไป

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

ทรัพยากรสารสนเทศที่สำนักหอสมุดดำเนินการจัดซื้อจัดหา  มีดังนี้

1. ประเภทสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือตำรา หนังสืออ้างอิง หนังสือสารคดี บันเทิงคดี วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานการวิจัย สิ่งพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยผลิต ต้นฉบับตัวเขียน และเอกสารอื่น ๆ
2. ประเภทสื่อโสตทัศน์ ได้แก่ VCD DVD ทั้งสารคดีและบันเทิง และสื่อการศึกษาอื่นๆ รวมถึงรูปภาพ/รูปถ่าย โปสเตอร์
3. ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่ ฐานข้อมูลออนไลน์ หนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ Software ต่างๆ ที่มีเนื้อหาวิชาเกี่ยวข้อง สอดคล้องและสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

ผู้มีสิทธิในการคัดเลือกและเสนอรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ประกอบด้วย บรรณารักษ์อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย โดยเสนอรายชื่อผ่านทุกช่องทาง ได้แก่ ระบบเสนอซื้อออนไลน์ แบบเสนอรายชื่อหนังสือเพื่อการจัดซื้อ การเสนอรายชื่อทางโทรศัพท์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เฟซบุ๊ก

แนวทางการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด

1. ด้านเนื้อหา

1.1 ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาวิชาการ ได้แก่ ตำราอาจารย์ งานวิจัย เอกสารประกอบการเรียนการสอน
1.2 ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหากึ่งวิชาการ ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระ ให้ความรู้ ความคิด และส่งเสริมภูมิปัญญา ซึ่งอาจจะเขียนในรูปของบทความ บทวิจารณ์ ความทรงจำ จดหมาย บันทึก บทอภิปราย ปาฐกถา บทสัมภาษณ์ หรือแม้แต่หนังสืออ้างอิงต่าง ๆ เช่น สารานุกรม พจนานุกรม ชีวประวัติ เป็นต้น
1.3 ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาบันเทิง ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เกิดความบันเทิงเป็นสำคัญ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น เป็นต้น

2. ด้านปีพิมพ์

การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ต้องทันสมัย ฉบับพิมพ์ใหม่ล่าสุด มีกำหนดปีพิมพ์ไม่เกิน 5 ปี

3. ด้านกายภาพ

3.1 หนังสือหรือวารสารต้องมีสภาพรูปเล่มที่ไม่ชำรุดเสียหาย ฉีกขาด กลับด้าน
3.2 ต้องไม่ใช่หนังสือ วารสาร และสื่อโสตทัศน์ที่สำเนาจากต้นฉบับ
3.3 หนังสือชื่อเรื่องใดหากมี 2 ลักษณะ เช่น ปกแข็งและปกอ่อน โดยมีราคาแตกต่างกันจะ
พิจารณาจัดซื้อฉบับที่มีราคาถูกกว่า ยกเว้นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษ อาทิ หนังสือพระราชนิพนธ์ เป็นต้น
3.4 หนังสือหรือวารสารต้องไม่มีรอยขีดเขียน เลอะ เปรอะเปื้อน
3.5 สื่อโสตทัศน์ต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ ไม่แตก หัก โค้งงอ

 4. จำนวนที่จัดซื้อ

4.1 หนังสือภาษาไทย รายชื่อละ 2 เล่ม
4.2 หนังสือภาษาต่างประเทศ รายชื่อละ 1 เล่ม
4.3 วารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รายชื่อละ 1 เล่ม
4.4 หนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รายชื่อละ 1 ฉบับ
4.5 สื่อโสตทัศน์ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รายชื่อละ 1 ชุด

 5. ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่พิจารณาเข้าห้องสมุด

5.1 ทรัพยากรสารสนเทศที่ซ้ำกับที่มีในสำนักหอสมุด
5.2 ทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะเนื้อหาเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสถาบันการเมือง
5.3 ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาความรุนแรง ล่อแหลม และการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ
5.4 ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาลามก อนาจาร ขัดต่อวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสังคมไทย

สิทธิในการรับหรือปฏิเสธ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับบริจาคเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักหอสมุด การรับหรือปฏิเสธในการนำขึ้นให้บริการสามารถทำได้ ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการจัดหาของสำนักหอสมุด เมื่อบริจาคให้สำนักหอสมุดแล้วสิ่งที่ได้รับบริจาคเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของสำนักหอสมุดที่จะกระทำการใดๆ ก็ได้ตามกฎหมาย โดยยึดหลักเกณฑ์หลักเกณฑ์เพื่อการพิจารณาเลือกรับทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

หลักเกณฑ์เพื่อการพิจารณาเลือกรับทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

การตอบรับ

เมื่อทางสำนักหอสมุดได้รับทรัพยากรสารสนเทศแล้วสำนักหอสมุดจะตอบขอบคุณตามที่ผู้บริจาคแจ้งความประสงค์ไว้

ผู้พิจารณาและดำเนินการ

บรรณารักษ์ของสำนักหอสมุดจะเป็นผู้ดำเนินการติดต่อและประสานงานในการจัดหา

หมายเหตุ : ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของบรรณารักษ์ผู้คัดเลือกหนังสือ

การอนุรักษ์และสงวนรักษา

  1. ทรัพยากรสารสนเทศ

1.1 จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และการถ่ายเทอากาศ
1.2 ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
1.3 แปลงรูปทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
1.4 สำรองข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลอย่างสม่ำเสมอ

  1. เอกสารจดหมายเหตุ

2.1 จัดเก็บในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นโดยเฉพาะ
2.2 ใช้วัสดุจัดเก็บที่ได้มาตรฐานการอนุรักษ์
2.3 จัดทำสำเนาดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงและป้องกันการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน
2.4 จำกัดการเข้าถึงต้นฉบับตามความเหมาะสม

  1. วัตถุพิพิธภัณฑ์

3.1 จัดแสดงและจัดเก็บในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัสดุแต่ละประเภท
3.2 ทำทะเบียนและบันทึกสภาพวัตถุอย่างละเอียด
3.3 ตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาตามหลักการอนุรักษ์
3.4 จัดทำเอกสารประกอบและภาพถ่ายเพื่อการศึกษาค้นคว้า
3.5 ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ตามความจำเป็น

ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567

ประกาศสำนักหอสมุด เรื่องนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

แบบฟอร์มการบริจาคหนังสือ

แบบฟอร์มเสนอซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด

แบบฟอร์มการขออนุรักษ์และสงวนรักษา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า