Skip to content Skip to footer

บริการฝึกอบรมและนำชมห้องสมุด – Courses Reserves & Library Tours

บริการฝึกอบรมและนำชมห้องสมุดให้แก่ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้สนใจทั่วไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทราบบริการต่าง ๆ ที่ห้องสมุดมี, ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด, การสืบค้นสารสนเทศเพื่อการศึกษา การเรียนการสอน และการวิจัย, การใช้งานโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ เช่น  การใช้โปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม (Reference Management Training), การใช้โปรแกรมตรวจสอบความซ้ำซ้อนผลงานทางวิชาการ (Plagiarism Detection Training  รวมถึงทักษะอื่น ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัย สนับสนุนการเรียน การสอนและการวิจัยให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์

รายการคอร์สฝึกอบรมที่มีให้บริการ

1. แนะนำพื้นที่ บริการของห้องสุมด  (Introduction Library Services)  ระยะเวลา 90 นาที
  • ขอบเขตเนื้อหาในการอบรม
    – แนะนำพื้นที่ และบริการต่างๆของห้องสมุด
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมรู้จักพื้นที่และบริการของห้องสมุด
    – ผู้เข้าอบรมใช้พื้นที่และบริการได้อย่างถูกต้อง

2. การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (OPAC and  eBooks Training)  ระยะเวลา 90 นาที

  • ขอบเขตเนื้อหาในการอบรม
    – แนะนำการใช้งาน OPAC และ E-books
    – แนะนำวิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมค้นหาทรัพยากรที่อยู่ภายในห้องสมุดได้ตรงกับความต้องการ
    – ผู้เข้าอบรมใช้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง

3. การสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการวิจัย (Reference Databases Training) ระยะเวลา 120 นาที

  • ขอบเขตเนื้อหาในการอบรม
    เทคนิคและวิธีการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท จากฐานข้อมูลวิชาการตลอดจนวิธีการคัดกรองผลลัพธ์การสืบค้นให้ตรงความต้องการ ประกอบด้วย
    – EBSCO Discovery Service Plus Full Text  ฐานข้อมูลที่รวบรวมบทความ/งานวิจัย จากหลาย ๆ ฐานข้อมูล
    – TDC (Thai Digital Collection) ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ
    – Thai Journals Online (ThaiJO) ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมทราบหลักการใช้คำค้น และหลักการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ
    – ผู้เข้าอบรมค้นหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดมีให้บริการได้ตรงกับความต้องการ
    – ผู้เข้าอบรมรู้จักวิธีการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

4. การใช้โปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม (Reference Management Training) ระยะเวลา 120 นาที

  • ขอบเขตเนื้อหาในการอบรม
    – การดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม EndNote 20
    – การใช้โปรแกรมจัดการบรรณานุกรม EndNote 20 ประกอบด้วย การสร้าง EndNote 20 Library, การนำข้อมูลบรรณานุกรมเข้าใน Endnote Library, การนำข้อมูลอ้างอิงทีจัดเก็บใน EndNote Library มาสร้างตามรูปแบบบรรณานุกรม , การเปลี่ยนการแสดงรูปแบบการอ้างอิง (citation) และ รูปแบบบรรณานุกรม (Bibliography)
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมสามารถใช้โปรแกรมเพื่อเขียนการอ้างอิงและบรรณานุกรมได้อย่างถูกต้อง
    – ผู้เข้าอบรมสามารถติดตั้งโปรแกรมและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการใช้งานโปรแกรมได้

5. การใช้โปรแกรมตรวจสอบความซ้ำซ้อนผลงานทางวิชาการ (Plagiarism Detection Training) ระยะเวลา 60 นาที

  • ขอบเขตเนื้อหาในการอบรม
    – วิธีการใช้โปรแกรม
    – วิธีการสมัครบัญชี และวิธีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนผลงานทางวิชาการด้วยตนเอง
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมรู้จักความหมายและประเภทการลอกเลียนวรรณกรรม
    – ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรม และประโยชน์ของโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ
    – ผู้เข้าอบรมใช้โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Turnitin) ตามประเภทผู้เข้าอบรมได้อย่างถูกต้อง
    – ผู้เข้าอบรมเข้าใจวิธีการอ่านค่าผลการตรวจสอบเอกสารของโปรแกรม

6. การเขียนบรรณานุกรมและการอ้างอิงเบื้องต้น (Annotated Bibliography Training) ระยะเวลา 90 นาที

  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมสามารถเขียนการอ้างอิงและบรรณานุกรมตามรูปแบบ APA 7th ได้อย่างถูกต้อง
    – ผู้เข้าอบรมสามารถจำแนกประเภททรัพยากรที่นำมาอ้างอิงได้
7. Design Thinking ระยะเวลา 120 นาที
  • ขอบเขตเนื้อหาในการอบรม
    – กระบวนการคิดเชิงออกแบบและการนำไปใช้งานจริง โดยมีหลักสำคัญอยู่ 5 ประการคือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง การตั้งกรอบโจทย์ของปัญหา การสร้างความคิด การสร้างต้นแบบ และการทดสอบ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยการคิดเชิงออกแบบ
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการและแนวคิดของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
    – ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการคิดเชิงออกแบบในขั้นตอนต่าง ๆ
    – ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแบบจำลอง (Prototype) เพื่อเป็นแบบจำลองคำตอบให้กับปัญหาที่ต้องการแก้ไข
    – ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิดเชิงออกแบบไปใช้แก้ปัญหาในงานที่ต้องการได้
  • Workshop

8. การออกแบบเบื้องต้นโดยใช้ Canva  ระยะเวลา 120 นาที

  • ขอบเขตเนื้อหาในการออบรม
    – ถ้าให้คนทั่วไปที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องการออกแบบเลยมาใช้ Canva เพื่อออกแบบงานซักอย่าง…เค้าคนนั้นต้องทำได้ และ ทำได้อย่างสบายใจด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร…ก็สามารถทำงานออกแบบได้
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ใน Canva เพื่อการออกแบบในรูปแบบต่าง ๆ
  • Workshop

9. Mini TCDC ฐานข้อมูลด้านการออกแบบ ระยะเวลา 120 นาที

  • ขอบเขตเนื้อหาในการออบรม
    – ทำความเข้าใจ
    ฐานข้อมูลแนวโน้มของอุตสาหกรรมแฟชั่น ศิลปะวัฒนธรรม พฤติกรรมของผู้บริโภค สถาปัตยกรรม และการออกแบบ
    ฐานข้อมูลที่รวบรวมงานวิจัยและการวิเคราะห์สถิติเกี่ยวกับประเภทบริษัท ตลาด และผู้บริโภค
    ฐานข้อมูลด้านการรวบรวมผลงานดิจิทัลอาร์ต ที่จะให้แนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจและความเข้าใจในการออกแบบที่โดดเด่น ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
    ฐานข้อมูลวัสดุเพื่อการออกแบบที่มนวัตกรรมใหม่ๆ และข้อมูลผู้ผลิตจากทั่วโลก ช่วยเปิดโลกวัสดุของคุณให้กว้างขวางและครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
    – ผู้เข้าอบรมทราบวิธีการกำหนดคำค้น และหลักการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ
    – ผู้เข้าอบรมทราบแหล่งข้อมูลสำหรับสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแนวโน้มด้านการสร้างสรรค์การออกแบบและสื่อ
    – ผู้เข้าอบรมทราบแหล่งข้อมูลสำหรับสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศทางสถิติแนวโน้มการตลาด
    – ผู้เข้าอบรมทราบแหล่งข้อมูลสำหรับสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแนวโน้มวัสดุศาสตร์
    – ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเป็นผู้ประกอบการ
  • Workshop

แจ้งความประสงค์เลือกคอร์สที่ต้องการได้ที่นี่ CLICK

Self-Paced Learning เรียนรู้ด้วยตนเองกับ MJU Library Academy

  • การสืบค้นสารสนเทศด้วย EBSCO Discovery Service (4 Mins.) (Thai Version) (English Version)
  • การใช้งานโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม EndNote 20 สำหรับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ (2.52 Hrs.) (Thai Version)
  • การใช้โปรแกรมจัดการบรรณานุกรม EndNote 20 สำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์ ปัญหาพิเศษและรายงานวิชาการ
    (2.40 Hrs.) (Thai Version)
  • การใช้งานโปรแกรมจัดการข้อมูลบรรณานุกรม EndNoteX9 (6.38 Mins.) (Thai Version)
  • เทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ (2.45 Hrs.) (Thai Version)
  • การคัดเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ (1.10 Hrs.) (Thai Version)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติเพื่อการวิจัยและการใช้ SPSS VER.28 (2.32 Hrs.) (Thai Version)
  • การใช้งานโปรแกรม COPYLEAKS สำหรับอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และบุคลากร (2.14 Hrs.) (Thai Version)
  • เทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft word สำหรับการทำรายงานการวิจัย (2 Hrs.) (Thai Version)

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/จองคอร์สฝึกอบรม
นางสาวกาญจน์หทัย ศรีบุญเรือง นักเอกสารสนเทศ
ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โทรศัพท์ 0 5387 3509,  0 5387 3511 หรือ Facebook: MJU Library

ตารางการฝึกอบรม

 

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1

ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โทรศัพท์ : 0 5387 3511, 0 5387 3510
Facebook : https://www.facebook.com/mjulibrary
Inbox : m.me/mjulibrary

Last Update: 22 กุมภาพันธ์ 2567

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า